สั่งของจากจีนกับ 5 อันดับของความผิดทางศุลกากรที่พบเจอบ่อย

สั่งของจากจีน 5 อันดับสูงสุดความผิดทางศุลกากร Firsttaobao สั่งของจากจีน สั่งของจากจีนกับ 5 อันดับของความผิดทางศุลกากรที่พบเจอบ่อย                                         5                                                                                                  Firsttaobao 768x402

สั่งของจากจีน โดยทั่วไปแล้วการนำเข้ามักจะผ่านไปอย่างราบรื่นและไร้ปัญหาหากคุณมีผู้ช่วยในการนำเข้าสินค้า (Freight Forwarder) ที่มีประสบการณ์สูงและเป็นมืออาชีพ

แต่หากเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเผลอไปใช้บริการกับชิปปิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานหรือนำเข้าด้วยตนเองโดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลการนำเข้าที่ถูกต้อง พึงควรระวังว่าการสั่งของจากจีนและการนำเข้าจะเข้าข่ายกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรโดยไม่ได้ตั้งใจ

เนื่องจากการดำเนินพิธีการนำเข้าและการส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการที่สั่งของจากจีนมีหน้าต้องปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด แม้ว่าผู้นำเข้าหรือส่งออกจะนำเข้าด้วยตนเอง หรือใช้บริการกับตัวแทนออกของ (Custom Broker) สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการตรวจสอบเอกสารด้วยตนเองเพื่อป้องกันความผิดพลาด

อย่างไรก็ตาม หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายศุลกากรกำหนด จะถือเป็นความผิดและได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งลักษณะความผิดที่พบเจอบ่อยๆ นั้น First Taobao ขอนำข้อมูลจากกรมศุลกากรมาเผยแพร่ ดังต่อไปนี้

  1. ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร หมายถึง การนำสินค้า ที่เป็นการสั่งของจากจีน และยังไม่ได้เสียภาษีอากรหรือของที่ควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทย โดยของที่ลักลอบหนีศุลกากรอาจเป็นของที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียก็ได้ หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากไม่นำมาผ่านพิธีการศุลกากร ก็ถือว่ามีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร ทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากรหรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ

  2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร หมายถึง การนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทยโดยนำมาผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิให้ต้องชำระค่าภาษีอาการหรือชำระในจำนวนที่น้อยกว่าที่จะต้องชำระ เช่น สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลการเป็นเท็จ เป็นต้น ดังนั้น ผู้นำเข้าหรือส่งออก ที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกฐานหนึ่งด้วย  กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ ในกรณีที่มีการนำของซุกซ่อนมากับของที่สำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรสำหรับของซุกซ่อน โทษสำหรับผู้กระทำผิดคือ ปรับ 4 เท่า ของอากรที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด(ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนมาให้เป็นของแผ่นดิน
  3. การสำแดงเท็จ หมายถึง การสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐานเอกสารและข้อเท็จจริงในการนำเข้าและส่งออก การกระทำผิดฐานสำแดงเท็จ มีหลายลักษณะ ดังนี้
 

             – การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดงใบรับรอง บันทึกเรื่องราวหรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรเป็นความเท็จ

             – การไม่ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายด้วยความสัตย์จริง

             – การไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาบันทึกเรื่องราวหรือทะเบียน สมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสารอื่นๆ ซึ่งกฎหมายศุลกากรกำหนดไว้

             – การปลอมแปลงหรือใช้เอกสารบันทึกเรื่องราวหรือตราสารอื่นๆ ที่ปลอมแปลงแล้ว

             – การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอื่นๆ ภายหลังที่ทางราชการออกให้แล้ว

             – การปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อหรือเครื่องหมายอื่นๆ ของพนักงานศุลกากร ซึ่งพนักงานศุลกากร ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

            การกระทำตามลักษณะดังกล่าวข้างต้น ให้ถือเป็นความผิด โทษสูงสุดคือปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน

  1. ความผิดฐานนำของต้องห้ามหรือต้องกำกัดเข้ามาหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร สำหรับโทษของผู้กระทำ ผิดในการนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ความผิดครั้งหนึ่งๆ กำหนดไว้สูงสุดคือให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัด และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
  2. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร ในการนำเข้าและส่งออกสินค้าแต่ละครั้ง ผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารและการควบคุมการจัดเก็บภาษีอากร และการนำเข้า-ส่งออกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากรมีหลายลักษณะ เช่น การขอยื่นปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบบใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนระเบียบที่กำหนดไว้ จะถูกปรับ 1,000 บาท