นำเข้าสินค้าจากจีน ส่องโมเดลธุรกิจ Alibaba และ JD.com คู่แข่งที่สูสี

นำเข้าสินค้าจากจีน โมเดลธุรกิจ Alibab vs JD Firsttaobao นำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีน ส่องโมเดลธุรกิจ Alibaba และ JD.com คู่แข่งที่สูสี                                                                                          Alibab vs JD Firsttaobao 768x402

นำเข้าสินค้าจากจีน เป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการคนไทยหลายคนสนใจ เนื่องจากจีนเป็นแหล่งผลิตสินค้าโดยตรง มีสินค้าให้เลือกมากมาย หลายราคาและคุณภาพ จึงนิยมนำจำหน่ายต่อหรือใช้เอง โดยเฉพาะยิ่งซื้อมาก ยิ่งได้ราคาต้นทุน

หากแต่การนำเข้าสินค้าจากจีนนั้น ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบอย่างหนักตั้งแต่ปลายปี 2019 ที่ผ่านมาเนื่องจากต้องเผชิญกับวิกฤตไวรัสโคโรนา จวบจนกระทั่งบัดนี้ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปยังทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่ขรุขระเช่นนี้ สองบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้นำด้าน E-Commerce ของจีนอย่าง Alibaba และ JD.com หรือ Jingdong นั้น ยังคงมีความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจ จึงดูเหมือนว่าจะไม่มีการชะลอตัวของทั้งสองบริษัทแต่อย่างใด

First Taobao จึงมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโมเดลทางธุรกิจของ Alibaba และ JD ซึ่งเป็นคู่แข่งทางธุรกิจด้าน E-Commerce มาดูกันว่าเหตุใด ทั้งสองผู้นำยักษ์ใหญ่นี้ จึงประสบความสำเร็จในระดับโลกและครองใจผู้บริโภคชาวจีนได้อยู่หมัด

คู่แข่งทางธุรกิจที่สูสี และโมเดลทางธุรกิจที่น่าสนใจ

สิ่งหนึ่งที่ทุกคนรู้จักเหมือนๆ กันระหว่าง Alibaba กับ JD คือ ทั้งคู่เป็นแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่มีชื่อเสียงของจีน แต่ทั้งสองแบรนด์นี้ต่างมีโมเดลทางธุรกิจที่แตกต่างกันบางประการ อาทิ Alibaba เป็นแพลตฟอร์ม E-Commerce ล้วนๆ รายได้จะมาจากค่าธรรมเนียมและค่าโฆษณา ในขณะที่ JD ลงทุนอย่างมากในการสร้างคลังสินค้าขนาดใหญ่ทั่วประเทศจีน และเป็นเจ้าของสินค้าทางด้านกายภาพ แม้ว่าผลกำไรจะน้อยกว่าของ Alibaba แต่ JD สามารถควบคุมคุณภาพของประสบการณ์ลูกค้าได้ดีกว่า อีกทั้งได้มุ่งเน้นไปสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับลูกค้าที่มีรายได้สูง

ทั้งสองบริษัทค่อยๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย Alibaba เจ้าของเว็บไซต์ Taobao Tmall และ 1688 สามารถทำกำไรได้มากจากธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ และมีการลงทุนมากขึ้นโดยผสมผสานความเป็นร้านค้าทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์  ในเวลาต่อมาได้สร้างซูเปอร์มาร์เก็ต Hema Supermarkets และซื้อแพลตฟอร์มสั่งอาหาร Ele.me ตลอดจนรวบรวมพันธมิตรด้านการขนส่งเพื่อลบจุดอ่อนด้านการขนส่งที่เคยมี และสร้างบริษัทชื่อ Cainiao เพื่อบริหารจัดการข้อมูลอันมหาศาล รวมทั้งจัดการด้านการขนส่ง ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การใช้บริการของบริษัทขนส่งที่เป็นพันธมิตรกัน

Alibaba จัดเป็นกลุ่มบริษัทที่มีความหลากหลาย แตกแขนงธุรกิจออกไปหลายด้าน และถือเป็นผู้นำจีนทางด้าน Cloud Computing (บริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้กำลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆ จากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง) และยังเป็นผู้นำรายใหญ่ในวงการบันเทิง มีเว็บไซต์สตรีมวีดิโอชื่อดังอย่าง Youku Tudou ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เป็นทั้งพอร์ทัลให้วีดิโอที่ผู้ใช้สร้างขึ้น และสตรีมภาพยนตร์และซีรีย์ลิขสิทธิ์ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดังกล่าวนี้ ถือว่ามีกำไรที่ต่ำกว่าแพลตฟอร์มหลักในหลายๆ กรณี

สำหรับ JD.com กลับมีโมเดลที่ต่างกันออกไปโดยโฟกัสที่แพลตฟอร์ม E-Commerce เป็นหลักและธุรกิจโลจิสติกส์ โดย JD เลือกลงทุนระบบขนส่ง ทั้งเรื่องรถขนส่ง การจ้างคน และคลังสินค้าที่มีเป็นของตนเองหรือเรียกว่าใช้รูปแบบธุรกิจ Direct Model ซึ่งโมเดลธุรกิจของ JD มีความคล้ายคลึงกับของ Amazon ปัจจุบัน JD มีเครือข่ายคลังสินค้าของตัวเองมากกว่า 600 แห่งใน 28 เมือง หรือเรียกได้ว่าทั่วประเทศจีนก็ว่าได้

อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จาก Nikkei Asian Review ระบุว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ JD มีการเติบโตอย่างน้อย 10% สำหรับสถานการณ์โควิด-19 เนื่องมาจาก JD มีรถขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ และมีสต็อกสินค้าของตัวเอง ทำให้สามารถขายของและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันท่วงที ตรงกันข้ามกับ Alibaba และ Cainiao ที่ยังต้องพึ่งพาสต็อกสินค้าของพ่อค้าแม่ค้าที่ขายสินค้าในแพลตฟอร์มของ Alibaba และผู้ให้บริการขนส่งที่เป็นพันธมิตรกัน ทำให้พบปัญหาที่ไม่สามารถส่งของได้ทันความต้องการในช่วงเกิดวิกฤต ทั้งๆ ที่ Alibaba น่าจะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์การจัดส่งที่ขรุขระในช่วงเทศกาล 11.11 ที่ผ่านมา

เปรียบเทียบรายได้และกำไรเฉลี่ยต่อปีระหว่าง Alibaba และ JD.com

นำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีน ส่องโมเดลธุรกิจ Alibaba และ JD.com คู่แข่งที่สูสี                                                              firsttaobao 1024x1024

ถึงอย่างนั้น เมื่อดูจากรายได้เฉลี่ยต่อปีของ Alibaba และ JD ถึงแม้จะพบว่า Alibaba มียอดการเติบโตที่เหนือกว่า JD ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการใช้ Cloud Computing เข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ หากแต่การเติบโตของธุรกิจใหม่ของ Alibaba นั้น กลับมีกำไรที่ต่ำกว่าแพลตฟอร์มหลักอยู่ดี ขณะที่ JD มุ่งเน้นการลงทุนระบบขนส่งและโลจิสติกส์มากกว่า เนื่องจากมีอัตรากำไรที่สูงและเติบโตเร็วกว่า แต่ทั้งนี้ก็เริ่มที่จะมีการขยายธุรกิจออกไปในแขนงอื่นๆ บ้างแล้วเช่นกัน

ข้อมูล : https://www.fool.com/investing/2019/08/20/better-buy-alibaba-vs-jdcom.aspx